Q7: แนวทางการร้องทุกข์ปัญหามลพิษของกรมควบคุมมลพิษ
A7: 1. ประสบปัญหามลพิษ จะทำอย่างไรดี ปัญหามลพิษเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ
อาคารบ้านเรือน การเกษตรกรรม รถยนต์ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของหลายหน่วยงาน เช่น ปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยงานสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เหตุเดือดร้อนรำคาญจากสถานประกอบการ เช่น กลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง เขม่าควัน สารพิษ เสียงดัง ความสั่นสะเทือน อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ส่วนปัญหามลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมควบคุมมลพิษและผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปศุสัตว์จังหวัด เป็นต้นดังนั้น หากได้รับความเดือดร้อนจากปัญหามลพิษดังกล่าว สามารถแจ้งร้องทุกข์ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงข้างต้น หรืออาจแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่กำกับดูแลหน่วยงานในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม หากปัญหาของท่านยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือยังคงได้รับความร้อนอยู่ อาจแจ้งมายัง กรมควบคุมมลพิษ เพื่อประสานงาน ติดตามตรวจสอบ และดำเนินการตาม อำนาจหน้าที่ ตามแต่กรณี2. กรมควบคุมมลพิษ ช่วยอะไรท่านได้ กรมควบคุมมลพิษ เป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่
- ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ด้านมลพิษ
- ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมด้านการควบคุมมลพิษและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. แนวทางการดำเนินงานเรื่องร้องทุกข์ของกรมควบคุมมลพิษ
1. แหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. 2535
1.1 กรณีโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบปัญหา จะต้องแจ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือจังหวัด เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ก่อน หากหน่วยงานดังกล่าวไม่ดำเนินการ กรมควบคุมมลพิษ จึงจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ. 2535 ต่อไป
1.2 แหล่งกำเนิดอื่น เช่น ฟาร์มสุกร อาคารบางประเภทและบางขนาด (อาคารขนาดใหญ่) ที่ดินจัดสรร กรมควบคุมมลพิษหรือ ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 สามารถบังคับใช้กฎหมายได้โดยตรง
2. แหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่ถูกควบคุมตามข้อ 1 กรมควบคุมมลพิษจะทำหน้าที่ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายแต่ละฉบับต่อไปเนื่องจาก กรมควบคุมมลพิษมีอำนาจหน้าที่จำกัด อีกทั้งไม่มีอำนาจในการสั่งปิดโรงงาน หรือสถานประกอบการ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์บางกรณีที่มีความซับซ้อน อาจต้องใช้เวลา และไม่สามารถดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมมลพิษมีความมุ่งมั่นที่จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากภาวะมลพิษเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
4. ขั้นตอนการดำเนินงานเรื่องร้องทุกข์ด้านมลพิษ กรมควบคุมมลพิษ
5. แหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
มลพิษทางน้ำ
- โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
- อาคารชุด โรงแรม ตลาด ภัตตาคาร หรือร้านอาหาร สถานพยาบาล ศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า
- การเลี้ยงสุกร
- ที่ดินจัดสรร
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
- บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
- บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย
- ท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา และกิจการแพปลา
มลพิษทางอากาศ
- โรงโม่ บดหรือย่อยหิน
- โรงงานเหล็ก
- โรงไฟฟ้า
- เตาเผามูลฝอย
- เตาเผาศพ
- เตาเผามูลฝอยติดเชื้อ
- โรงงานปูนซีเมนต์
- สถานประกอบกิจการหลอมและต้มทองคำ
- โรงสีข้าว
- โรงงานอุตสาหกรรม
- คลังน้ำมันเชื้อเพลิง
มลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน
6. ช่องทางอื่นในการร้องทุกข์ด้านมลพิษ
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
โทรศัพท์ 0-2202-4000 หรือ www.diw.go.th
Email : inform@narai.diw.go.th
- สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
- ศูนย์รับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 1555 กด 1 หรือ www.bma.go.th
- ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย
โทรศัพท์ 1567 หรือ www.mahadthai.com
หรือ ตู้ ปณ. 1 ปณฝ.มหาดไทย กรุงเทพฯ 10206
- ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โทรศัพท์ 0-2298-5735 หรือ www.monre.go.th
หรือ ตู้ ปณ.344 ปณ. สามเสนใน กรุงเทพฯ 10400
- สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 1 – 16
- สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
- ศูนย์บริการประชาชน สำนักนายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 0-2280-7170-1 หรือ ตู้ ปณ. 900 ปณฝ. สำนักทำเนียบ กรุงเทพฯ 10302
หรือ www.rakang.thaigov.go.th
7. คำแนะนำในการแจ้งเรื่องร้องทุกข์ของกรมควบคุมมลพิษ
1 . ผู้ร้องทุกข์สามารถแจ้งมายังกรมควบคุมมลพิษ โดย
- สายด่วนร้องทุกข์ โทร 1650 กด 1
- จดหมายมาที่กรมควบคุมมลพิษ 92 ซอยพหลโยธิน 7
ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
กรุงเทพฯ 10400 โทรสาร 0 2298 2596
- ตู้ ปณ. 33 ปณ. สามเสนใน กรุงเทพฯ 10400
- เว็บไซต์ www.pcd.go.th
- Email : e-petition@pcd.go.th
2 . ผู้ร้องทุกข์ต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
โดยกรมฯ จะเก็บข้อมูลเป็นความลับ
ตัวอย่างหนังสือร้องทุกข์ |
ที่อยู่(ผู้ร้อง)……………. |
วัน…………เดือน……………..ปี……….. |
เรื่อง (ระบุชื่อเรื่องที่ต้องการร้องเรียน)
|
เรียน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ/ ผู้อำนวยการกองตรวจมลพิษ
|
รายละเอียดของคำร้องทุกข์ ควรประกอบด้วย
1) ชื่อ ที่อยู่ของโรงงานหรือสถานประกอบการ
2) ปัญหาที่ได้รับ
3) ข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน เอกสารอ้างอิง ที่สามารถระบุได้ (ถ้ามี) และใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
|
ลงชื่อ – สกุล (ผู้ร้อง) |
เบอร์โทรศัพท์ ( ถ้ามี)
|
|