รายงานการศึกษาแนวทางการจัดการสิ่งก่อสร้างสำหรับประเทศไทย
ศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการจัดการเศษสิ่งก่อสร้างของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยการสำรวจพื้นที่ที่เป็นสถานที่ก่อสร้าง สถานที่รื้อถอน สถานที่ที่ใช้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บเศษวัสดุก่อสร้าง การเก็บข้อมูลจากการสอบถามและการสัมภาษณ์จากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัทผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างสำเร็จรูป และบริษัทผู้รับรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อศึกษาแหล่งกำเนิดและองค์ประกอบ รวบรวมวิธีการต่างๆ ในการประเมินปริมาณของเสีย ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแนวทางการจัดการของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอนที่เหมาสมสำหรับประเทศไทย
ซึ่งเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะประกอบด้วย
![]() |
เหตุผลและความสำคัญในการนำของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอนกลับมาใช้ใหม่ |
![]() |
แหล่งกำเนิดและองค์ประกอบของของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอน |
![]() |
การประเมินปริมาณของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอน |
![]() |
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอนในประเทศไทย |
![]() |
การจัดการเศษสิ่งก่อสร้าง ณ สถานที่ก่อสร้างจากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง |
![]() |
การจัดการเศษสิ่งก่อสร้างที่เกิดจากโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างสำเร็จรูป |
![]() |
การจัดการเศษสิ่งก่อสร้างจากการรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง |
![]() |
การจัดการของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
![]() |
ของเสียที่มีแนวโน้มว่าเป็นของเสียอันตรายจากการก่อสร้างและรื้อถอน |
![]() |
ข้อจำกัดของการนำของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอนกลับมาใช้ใหม่ในประเทศไทย |
![]() |
ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการจัดการของเสียจากการก่อสร้างและรื้อถอน |