pcd.go.th
ขนาดอักษร |
Q1: การบำบัดกลิ่นทางชีวภาพคืออะไร

A1: เป็นการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารที่มีกลิ่น โดยการผ่านก๊าซจากด้านล่างเข้าเข้าหอหรือถังบำบัดซึ่ง บรรจุตัวกลางที่มีจุลินทรีย์เกาะอยู่ ซึ่งจะเกิดการดูดซึม การดูดซับ การแพร่ และการย่อยสลายโมเลกุลของสารที่มีกลิ่น ข้อดีของวิธีการนี้คือ มีความยืดหยุ่นสูงสามารถรองรับสภาพความเข้มข้นและชนิดของสารที่เปลี่ยนแปลงได้ ประหยัดสารเคมี และไม่มีมลพิษในรูปอื่นเกิดขึ้นตามมาเป็นภาระให้บำบัดแต่มีข้อควรระวังคือ การอุดตันของตัวกลางซึ่งจะทำให้เกิดความดันสูญเสีย และการรักษาความชื้นของตัวกลางให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

Q2: การบำบัดกลิ่นทางชีวภาพคืออะไร มีลักษณะอย่างไร

A2: เป็นการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารที่มีกลิ่น โดยการผ่านก๊าซจากด้านล่างเข้าเข้าหอหรือถังบำบัดซึ่งบรรจุตัวกลางที่มีจุลินทรีย์เกาะอยู่ ซึ่งจะเกิดการดูดซึม การดูดซับ การแพร่ และการย่อยสลายโมเลกุลของสารที่มีกลิ่น ข้อดีของวิธีการนี้คือ มีความยืดหยุ่นสูงสามารถรองรับสภาพความเข้มข้นและชนิดของสารที่เปลี่ยนแปลงได้ ประหยัดสารเคมี และไม่มีมลพิษในรูปอื่นเกิดขึ้นตามมาเป็นภาระให้บำบัดแต่มีข้อควรระวังคือ การอุดตันของตัวกลางซึ่งจะทำให้เกิดความดันสูญเสีย และการรักษาความชื้นของตัวกลางให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

ภายหลังการบำบัด สารอินทรีย์จะเหลืออยู่มาก แต่จะมีเซลล์ใหม่เกิดขึ้นน้อย โดยทั่วไป มักเข้าใจกันว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศหมายถึงระบบไม่ใช้อากาศ ที่ผลิตกาซมีเทน โดยอาศัยแบคทีเรียที่หายใจด้วย CO2 การบำบัดน้ำเสียจึงเขียนแทนได้ด้วยสมการดังนี้

แต่ที่จริงแล้ว ในโลกของแบคทีเรียไม่ใช้อากาศยังมีแบคทีเรียอื่นที่ไม่ได้หายใจด้วย COอีกหลายชนิด แบคทีเรียเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ได้โดยหายใจสารอื่น เช่น NO3, SO, Fe2O3, FeOOH, MnO2 เป็นต้น

Q3: อยากทราบวิธีการวิเคราะห์ตัวอย่างผักโดยใช้การย่อยสลายสารตัวอย่างแบบเปียกและแบบแห้ง

A3:

  1. วิธีเผาให้เป็นเถ้า ( Dry oxidation , Dry ashing ) นำสารตัวอย่างเผาที่อุณหภูมิสูงในบรรยากาศของออกซิเจน สารอินทรีย์จะสลายตัวออกไปจนเหลือแต่เถ้า แล้วจึงนำไปละลายด้วยกรดที่เหมาะสม เวลาเผาต้องควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมเพราะธาตุบางชนิดอาจละเหยได้เมื่ออุณหภูมิสูงเช่น สารหนู(As) , ตะกั่ว(Pb) , เซเลเนียม(Se)
  2. วิธีย่อยเปียก ( wet oxidation , Wet digestion ) with mineral acids เป็นการย่อยสลายโดยนำสารตัวอย่างต้มกับกรดเข้มข้น อาจเป็นกรดเดียวหรือกรดผสม ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวอย่าง ความยากง่ายของการเตรียมขึ้นอยู่กับการจับตัวภายในโครงสร้างของตัวอย่างที่วิเคราะห์ กรดที่นิยมใช้คือ HNO3 ,H2SO4 , HClO4 ส่วนใหญ่ใช้อัตราส่วน 3:1:1 ตามลำดับ

แบ่งตามสภาวะการทำงานได้ดังนี้

  • Digestion with Mineral Acids and Heating at Atmospheric Pressure: hot plate digestion, microwave digestion opened system
  • Digestion with Mineral Acids and Elevated Pressure: acids bomb digestion, microwave digestion closed system

การเตรียมตัวอย่างสำหรับวิเคราะห์ได้มาจากวิธีทดสอบที่นำมาใช้ในห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปวิธีทดสอบมาจากแหล่งต่างๆ เช่น

  • Standard Method เช่น American Society for Testing and Materials (ASTM), Association of Official Chemists (AOAC)
  • Official Methods เช่น Environmental Protection Agency (EPA)
  • Literature Methods เช่น Application ที่มากับเครื่องมือ
  • Laboratory- developed Methods

สำหรับการเผาสารที่อุณหภูมิ 550 องศา เป็นช่วงที่สารทั้ง 5 ตัว ยังไม่เกิดการแตกตัว ซึ่งอุณหภูมิที่ทำให้สาร แตกตัวอยู่ที่ Co =2400, แมงกานีส (Mn) = 2350, ทองแดง (Cu) = 1900 ,แคดเมียม (Cd) = 1400 ,ตะกั่ว (Pb) = 1500

Q4: อยากทราบวิธีการวิเคราะห์ตัวอย่างผักโดยใช้การย่อยสลายสารตัวอย่างแบบเปียกและแบบแห้ง

A4: Carbon tetrachloride (CCl4) หรือมีชื่ออื่นว่า carbon chloride, methane tetrachloride, perchloromethane, tetrachloroethane, benziform เป็นสารประกอบอินทรีย์ เกิดจากคาร์บอน (C) ฟอร์มพันธะโควาเลนต์ (Covalent) กับธาตุคลอรีน (Cl) มีสถานะเป็นของเหลว ไม่มีสี มีกลิ่นอีเธอร์ ใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการ การผลิตแร่ การหล่อโลหะผสมทองแดง การเตรียมคลอรีนอีกทั้งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ มีความเป็นพิษต่อ ตับ ไต และระบบประสาท หากมีการ สัมผัส สูดดม หรือกลืนกิน หากได้รับสารเคมีนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก ทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมีความเป็นพิษต่อระบบนิเวศวิทยา โดยเฉพาะหากปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ดังนั้นจึงไม่ควรนำสารนี้มาใช้ในการซักล้าง


Skip to content