เอกสาร: คู่มือ “แผนการป้องกันและลดมลพิษกรณีอุทกภัย”
จากสถานการณ์มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๕๔ ได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่างๆ ทั้งในช่วงอุทกภัยและหลังเกิดอุทกภัย ได้แก่ปัญหาน้ำท่วมแหล่งกำเนิดมลพิษทำให้สารมลพิษแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม ปัญหาการระบายมลพิษออกจากแหล่งกำเนิดในช่วงน้ำท่วม ปัญหาน้ำท่วมขังเน่าเสียในพื้นที่ชุมชนและเกษตรกรรม ปัญหาระบายน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพแหล่งน้ำ ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นในช่วงอุทกภัยและที่ตกค้างหลังจากเกิดอุทกภัย ปัญหาระบบจัด/บำบัดมลพิษได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและไม่สามารถใช้การได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะต้องได้รับการจัดการโดยเร็วเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาให้แก่ผู้ประสบภัย รวมถึงการแก้ปัญหามลพิษต่างๆ และภาคประชาชนที่ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนั้นกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินการควบคุมมลพิษ จึงได้จัดทำแผนการป้องกันและลดมลพิษกรณีอุทกภัยขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์อุทกภัย
เนื้อหาคู่มือประกอบด้วย
![]() |
บทนำ |
![]() |
วัตถุประสงค์ |
![]() |
เป้าหมาย/ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
![]() |
พื้นที่เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ |
![]() |
คำนิยาม |
![]() |
ปัญหามลพิษในสถานการณ์อุทกภัย |
![]() |
ขั้นตอนการดำเนินการป้องกันและลดมลพิษกรณีอุทกภัย |
![]() |
การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ |