pcd.go.th
ขนาดอักษร |
คุณภาพอากาศ ภาคเหนือ อยู่ในเกณฑ์ดี กรุงเทพ – ปริมณฑล เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ 9 ก.พ. จะดีขึ้น

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) รายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM2.5 ประจำวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ณ 07:00 น. พบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพมหานคร จ.ปทุมธานี จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.ราชบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ฉะเชิงเทรา จ.ระยอง จ.หนองคาย จ.นครพนม จ.อุบลราชธานี และ จ.นครราชสีมา โดย

>ภาคเหนือ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 8 – 44 มคก./ลบ.ม.

>ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 28 – 66 มคก./ลบ.ม.

>ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 39 – 57 มคก./ลบ.ม.

>ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 30 – 62 มคก./ลบ.ม.

>ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 10 – 18 มคก./ลบ.ม.

>กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 39 – 72 มคก./ลบ.ม.

ประชาชนทั่วไป ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์

ศูนย์แบบจำลองคุณภาพอากาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ คพ. คาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล 7 วันล่วงหน้า พบ แนวโน้มของสถานการณ์ในช่วงวันที่ 9 – 15 กุมภาพันธ์ จะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิด และสภาพอากาศที่นิ่งลดลง โดยท่านสามารถติดตามสถานการณ์ผ่านทางเว็บไซต์ Air4Thai.com และ bangkokairquality.com แอปพลิเคชัน Air4Thai และ AirBKK

ศกพ. ขอชี้แจงข้อเท็จจริงจากรายงานของ AirVisual เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 07.00 น. กรุงเทพมหานครตรวจพบ PM2.5 สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก อาจทำให้ประชาชนตื่นตระหนก และเกิดความเข้าใจผิดว่าคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครอยู่ในขั้นวิกฤติ ต่อเนื่องติดต่อกันทุกชั่วโมง ทุกวัน ตลอดทั้งปี ซึ่งข้อเท็จจริงในการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศดังกล่าว เป็นตัวแทนสถานการณ์ระยะสั้น และโดยหลักการนักวิชาการใช้ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 ในระยะ 1 ปี เป็นดัชนีชี้วัดผลกระทบทางสุขภาพของประชาชน โดยในรายงานของ World Bank สถานการณ์ PM2.5 ของประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 70 จากทั้งหมด 194 ประเทศ

Skip to content