pcd.go.th
ขนาดอักษร |

 

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565
แบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ ดังต่อไปนี้

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย
  • กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
  • กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
  • ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์มลพิษและสิ่งแวดล้อม
  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1-16
  • กองกฎหมาย
  • กองจัดการคุณภาพน้ำ
  • กองตรวจมลพิษ
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

แผนภูมิโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ



วิสัยทัศน์

  • น้ำต้องสะอาด อากาศต้องบริสุทธิ์ หยุดปัญหามลพิษ เพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

พันธกิจ

  • พัฒนากฎหมาย มาตรฐาน เครื่องมือ และกลไกในการจัดการมลพิษที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
  • กำกับ ดูแล บังคับใช้กฎหมาย เพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ประเมิน แจ้งเตือน และรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศ
  • สื่อสารสร้างการรับรู้ ขยายหุ้นส่วนความร่วมมือ และสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการมลพิษ
  • ยกระดับความสามารถบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการจัดการมลพิษ
  • ประสานความร่วมมือด้านการจัดการมลพิษกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และระหว่างประเทศ

สำนักงานเลขานุการกรม มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ อาคารสถานที่ และ ยานพาหนะของกรม
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ งานเลขานุการ และงานประสานราชการของกรม
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดระบบงานและการบริหารงานบุคคลของกรม
  4. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ และการพัสดุ
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานของกรม
  6. ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการใดในกรม
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการภายใน

  • ส่วนสารบรรณ อาคารสถานที่ และยานพาหนะ
  • ส่วนบริหารการคลังและพัสดุ
  • ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ส่วนสื่อสารองค์กร
  • ส่วนช่วยอำนวยการนักบริหาร

 

 

กองกฎหมาย มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. ให้ข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  3. ประเมินผลและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษ
  4. ดำเนินการเกี่ยวกับการออกกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ และคำสั่งตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญางานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกรม
  6. อบรม เผยแพร่ และให้ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษแก่ภาครัฐและเอกชน
  7. ปฏิบัติงานในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
  8. ดำเนินการเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนจากแหล่งกำเนิดมลพิษที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นของรัฐหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
  9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการภายใน

  • ส่วนคดีและนิติกรรมสัญญา
  • ส่วนบังคับทางปกครอง 1
  • ส่วนบังคับทางปกครอง 2
  • ส่วนพัฒนากฎหมาย
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป

 

 

กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. เสนอความเห็นเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากของเสียและสารอันตราย
  2. จัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการมลพิษ ประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษจากกากของเสียและสารอันตราย
  3. จัดทำแผนสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน ประสานการปฏิบัติการเพื่อให้เกิดการแก้ไขหรือฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่มีการปนเปื้อนหรือการแพร่กระจายจากกากของเสียและสารอันตราย
  4. เสนอแนะ มาตรฐาน มาตรการ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการกากของเสียและสารอันตราย
  5. ติดตาม ตรวจสอบ และจัดทำรายงานสถานการณ์มลพิษ ด้านการจัดการกากของเสียและสารอันตราย
  6. พัฒนาระบบ รูปแบบ หลักเกณฑ์ปฏิบัติ และวิธีการที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการลดมลพิษหรือการใช้ประโยชน์จากกากของเสียและสารอันตราย
  7. เสนอแนะ ร่วมมือ และดำเนินมาตรการระหว่างประเทศด้านกากของเสียและสารอันตราย
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการภายใน

  • ส่วนแผนงานและประมวลผล
  • ส่วนขยะมูลฝอยชุมชน
  • ส่วนลดและใช้ประโยชน์ของเสีย
  • ส่วนมลพิษจากกากของเสียและสารอันตราย
  • ส่วนของเสียอันตราย
  • ส่วนสารอันตราย
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป

 

 

กองจัดการคุณภาพน้ำ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. เสนอความเห็นเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมลพิษทางน้ำ
  2. จัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการมลพิษ ประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษทางน้ำ
  3. ประสานการปฏิบัติการเพื่อให้เกิดการแก้ไขหรือฟื้นฟูแหล่งน้ำที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางน้ำและประเมินความเสียหายต่อคุณภาพน้ำ
  4. เสนอแนะ มาตรฐาน มาตรการ หลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมมลพิษทางน้ำ
  5. ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพน้ำ และจัดทำรายงานสถานการณ์ด้านมลพิษทางน้ำ
  6. พัฒนาระบบ รูปแบบ หลักเกณฑ์ปฏิบัติ และวิธีการที่เหมาะสมในการลดมลพิษทางน้ำ
  7. เสนอแนะ ร่วมมือ และดำเนินมาตรการระหว่างประเทศด้านการจัดการคุณภาพน้ำ
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการภายใน

  • ส่วนแผนงานและประมวลผล
  • ส่วนแหล่งน้ำจืด
  • ส่วนแหล่งน้ำทะเล
  • ส่วนน้ำเสียเกษตรกรรม
  • ส่วนน้ำเสียอุตสาหกรรม
  • ส่วนน้ำเสียชุมชน
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป

 

 

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. เสนอความเห็นเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมลพิษทางอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน
  2. จัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการมลพิษ ประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษทางอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน
  3. ประสานการปฏิบัติการเพื่อให้เกิดการแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ และประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศ
  4. เสนอแนะ มาตรฐาน มาตรการ หลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมมลพิษทางอากาศ เสียงและความสั่นสะเทือน
  5. ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพอากาศและเสียง และจัดทำรายงานสถานการณ์ด้านมลพิษทางอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน
  6. พัฒนาระบบ รูปแบบ หลักเกณฑ์ปฏิบัติ และวิธีการที่เหมาะสมในการลดมลพิษทางอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน
  7. เสนอแนะ ร่วมมือ และดำเนินมาตรการระหว่างประเทศด้านการจัดการคุณภาพอากาศเสียง และความสั่นสะเทือน
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการภายใน

  • ส่วนแผนงานและประมวลผล
  • ส่วนคุณภาพอากาศ
  • ส่วนเสียงและความสั่นสะเทือน
  • ส่วนมลพิษจากยานพาหนะ
  • ส่วนมลพิษจากอุตสาหกรรม
  • ส่วนมลพิษทางอากาศข้ามแดน
  • ส่วนนวัตกรรมคุณภาพอากาศและเสียง
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป

 

 

กองตรวจมลพิษ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้านการควบคุมมลพิษ
  2. บังคับการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติด้านมลพิษ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้านการควบคุมมลพิษ
  3. รับเรื่องราวร้องทุกข์ ดำเนินการตรวจสอบ พิจารณาวินิจฉัย และสนับสนุนการจัดการเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. พัฒนาระบบ แนวทาง และมาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบและบังคับการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้านการควบคุมมลพิษ
  5. รวบรวม จัดทำและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านมลพิษและที่เกี่ยวเนื่องของแหล่งกำเนิดมลพิษต่อสาธารณะ
  6. ประสานการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน และประชาชนในการตรวจสอบและควบคุมมลพิษ
  7. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติด้านมลพิษ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน
  8. สนับสนุนและดำเนินความร่วมมือในการกำกับดูแลด้านมลพิษกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  9. ปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์อำ นวยการในการดำ เนินการตามมาตรการควบคุมมลพิษตรวจสอบ ติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยอง
  10. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการภายใน

  • ส่วนแผนงานและประมวลผล
  • ส่วนตรวจสอบเหตุฉุกเฉินและกากของเสีย
  • ส่วนข้อมูลและสนับสนุนเรื่องราวร้องทุกข์ด้านมลพิษ
  • ส่วนตรวจมลพิษ 1
  • ส่วนตรวจมลพิษ 2
  • ส่วนตรวจมลพิษ 3
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป

 

 

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำนโยบายและแผนการจัดการมลพิษให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งติดตามประเมินผล
  2. จัดทำนโยบายและแผนด้านการป้องกันมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  3. ประสานและให้คำแนะนำ ในการจัดทำ แผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ
  4. ดำเนินการเพื่อกำหนดเขตและติดตามผลการดำเนินงานในเขตควบคุมมลพิษ
  5. สนับสนุนการบริหารการจัดการมลพิษให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  6. เสนอความเห็นในการประยุกต์ใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์และการค้าในการป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษ
  7. จัดทำรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศ
  8. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และงานประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับการประชุมของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการมลพิษตามที่ได้รับมอบหมาย
  9. ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวกับความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและต่างประเทศในการดำเนินการร่วมด้านมลพิษ
  10. ดำเนินการเกี่ยวกับนโยบายและแผนของกรม การวิเคราะห์แผนงานและโครงการและการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  11. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการภายใน

  • ส่วนวิเคราะห์นโยบายและแผน
  • ส่วนประสานการจัดการมลพิษ
  • ส่วนแผนงานและงบประมาณ
  • ส่วนประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • ส่วนติดตามและประเมินผล
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป

 

 

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  2. เป็นศูนย์กลางข้อมูลของกรม ในการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ
  3. กำหนดมาตรฐานในการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านมลพิษและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  5. พัฒนาระบบสารสนเทศมลพิษ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมลพิษ
  6. พัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานตามแนวทางรัฐบาล
  7. พัฒนาระบบและวิธีการในการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านมลพิษสู่สาธารณะ
  8. สนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บริการข้อมูลด้านวิชาการและข้อมูลข่าวสารของกรม
  9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการภายใน

  • ส่วนระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  • ส่วนพัฒนาและบริหารระบบสารสนเทศ
  • ส่วนข้อมูลสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและบริการ
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป

 

 

ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์มลพิษและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. พัฒนากลไกและมาตรการการผลักดันแนวทางการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  2. เสนอความเห็นในการกำหนดเกณฑ์ มาตรฐาน แนวปฏิบัติด้านการป้องกันมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  3. ศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ แนวคิด รูปแบบ ด้านการป้องกันมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  4. พัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ ให้คำปรึกษา แนะนำ และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการป้องกันมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  5. ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผนด้านการป้องกันมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  6. ประสานและดำเนินการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการป้องกันมลพิษ
  7. ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมของกรม
  8. พัฒนาระบบควบคุมคุณภาพวิธีการทดสอบของห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  9. ให้คำปรึกษา และแนะนำวิชาการด้านการตรวจวัด วิเคราะห์ตัวอย่างมลพิษและสิ่งแวดล้อม
  10. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการภายใน

  • ส่วนแผนงานและประมวลผล
  • ส่วนพัฒนาระบบคุณภาพ
  • ส่วนเทคโนโลยี
  • ส่วนวิเคราะห์อากาศ
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป
  • ส่วนวิเคราะห์อินทรีย์เคมีและกายภาพ
  • ส่วนวิเคราะห์อนินทรีย์เคมีและจุลชีววิทยา

 

 

กลุ่มตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบการดำเนินงานภายในกรม และสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรม รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของกรม
  2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดีโดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่อธิบดีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม
  2. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในกรม
  3. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานในสังกัดกรม
  4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 – 16 มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำแผนบจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการมลพิษในระดับพื้นที่
  2. เสนอแนะการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดในระดับพื้นที่
  3. ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดทำรายงานสภานการณ์สิ่งแวดล้อมระัดบพื้นที่
  4. ตรวจวัดและทดสอบตัวอย่างสิ่งแวดล้อมเพื่อบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อม และการอ้างอิงตามมาตรฐาน
  5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ คำแนะนำ และติดตามประเมินผลการจัดการมลพิษในระดับพื้นที่
  6. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
  7. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ด้านมลพิษ และสนับสนุนการปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินด้านมลพิษในพื้นที่
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่อธิบิดีมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการภายใน

  • ส่วนอำนวยการ
  • ส่วนแผนสิ่งแวดล้อม
  • ส่วนการจัดการกากของเสียและสารอันตราย
  • ส่วนการจัดการคุณภาพน้ำ อากาศและเสียง
  • ส่วนตรวจและบังคับใช้กฎหมาย
  • ส่วนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

 

วันที่ : 23 เมษายน 2561
เข้าชม : ครั้ง
ข้อมูลโดย : ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล , สำนักงานเลขานุการกรม

 


Skip to content