pcd.go.th
ขนาดอักษร |
Q1: เอลญิโน่,เอลนิโน คืออะไร เกิดได้อย่างไร ที่ไหน

A1: เอลนิโญ(El Nino) เป็นปรากฎการณ์การไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่นในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ จากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิก ตะวันตก ไปยังบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกและ ตามบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของ ทวีปอเมริกาใต้ (ประเทศเปรู เอดวาดอร์ และซิอีตอนเหนือ) ปรากฏการณ์เอลนิโญ (El Nino Phenomena) เป็นสาเหตุ ภูมิอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี บริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศเปรู ซึ่งอยู่ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณหมู่เกาะด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งประกอบด้วย ประเทศอินโดนีเซีย นิวกินี และออสเตรเลีย ในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้อ่อนกำลังลงไม่สามารถพัดพาความชุ่มชื้น จากมหาสมุทรเข้าสู่หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกได้ ตามปกติจึงเกิดความแห้งแล้งใน ภูมิภาคนี้ ในทาง ตรงกันข้ามความชุ่มชื้นที่มากเกินปกติ ถูกพัดพาข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าสู่ชายฝั่ง ของทวีปอเมริกาใต้จนเกิดอุทกภัยในภูมิภาคนี้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้กระแสน้ำลุ่นที่ถูกพัดพามายังช่วยผลักดันกระแสน้ำชายฝั่งซึ่งมีธาตุอาหาร อันอุดมสมบูรณ์จนไม่สามารถไหล เข้าสู่ทะเลลึก ทำให้สัตว์น้ำที่ชุกชุมมาก ในบริเวณที่มีปริมาณลดลง เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นสภาพ ภูมิอากาศปกติ และไม่เกิด ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบภูมิอากาศของโลก แต่ถ้าสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เช่นนี้ยืดเยื้อออกไปเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งก่อให้เกิดความแห้งแล้งอย่างมาก เนื่องจากในบริเวณตะวันตกของมหาสมุทร แปซิฟิก และเกิดความชุ่มชื้น ที่มากเกินปกติ ในบริเวณตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเรียกว่า ความผันผวนของ ภูมิอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation) ความผันผวนของระบบภูมิอากาศใน บริเวณซีกโลกใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย เริ่มมีการศึกษาและ พยายามอธิบายถึงสาเหตุการเกิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1920 โดย Sir Gilbert Wslker ต่อมา Lim (1984) อ้างว่า Berlage (1966) ได้พยายามให้ความหมายของความผันผวนของระบบ ภูมิอากาศในซีกโลกใต้ โดยรวมถึงความรุนแรงของความหมุนเวียนของบรรยากาศ ในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทร แปซิฟิกนี้เข้าด้วยกัน ต่อมา Quinn et al. (1978) กล่าวว่า ความผันผวน ของระบบภูมิอากาศ บริเวณนี้มีความสัมพันธ์กับ ความแตกต่างระหว่างความดันอากาศบริเวณความดันอากาศสูงถึง เขตร้อนแถบมหาสมุทรแปซิฟิกให้ (South Pacific Subtropical High) และความดันอากาศบริเวณความดันอากาศต่ำเขตศูนย์สูตรใกล้ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesian Equatorial Low) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงความผันผวนของ ระบบภูมิอากาศในซีกโลกใต้ (Southern Oscillation Indices) เมื่อใดที่ค่าดัชนีดังกล่าวมีค่าต่ำกว่า ศูนย์หรือติดลบ เมื่อจะเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ และถ้าเกิดติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ก็จะเป็นความผันผวนของระบบภูมิอากาศ ที่เกิดขึ้นในซีกโลกใต้ ซึ่ง Lim (1984) อ้างถึงการศึกษาของ Berlage 1966 และ Bjerkness (1966, 1969 และ 1972) ซึ่งสามารถ อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของผิวน้ำทะเล มีความสัมพันธ์กับ การหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร และปริมาณน้ำฝน ที่ตกลงมาบริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิก จึงรวมเรียกว่า ปรากฏการณ์เอลนิโน และความผันผวนของระบบ ภูมิอากาศบริเวณซีกโลกใต้นี้ว่า เอนโซ ENSO ( El Nino Southern Oscillation)

ที่มา: สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้

Q2: อยากทราบว่าในประเทศไทยมีปัญหาการปนเปื้อน Methyl tertiary-butyl ether (MTBE) มากน้อยเพียงใด และจะสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการปนเปื้อน Methyl tertiary-butyl ether (MTBE) ได้จากแหล่งข้อมูลไหน
A2: บทความจากกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง สถานการณ์ในปัจจุบันของ MTBE

  1. มูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทน
  2. บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน)
  3. กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
  4. บทความจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคชื่อ”สะพานข่าวผู้บริโภค”
  5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (The Thailand Research Fund)

การปนเปื้อนของสาร MTBE ในน้ำใต้ดินและวิธีการตรวจสอบสาร MTBE ในน้ำดื่มที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ยังคงมีราคาค่อนข้างแพง นอกจากนี้โรงกลั่นน้ำมันบางแห่งในสหรัฐได้มีการทดลองทำแบบจำลองสภาวะกึ่งการยกเลิกสาร MTBE โดยเปลี่ยนมาใช้สารเอทานอลแทน หรือจำกัดการใช้สาร MTBE พบว่าการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเบนซินโดยการใช้องค์ประกอบชนิดอื่นๆ เช่น alkylate ซึ่งมีค่าออกเทน 93 หรือ iso-octane ซึ่งมีค่าออกเทน 100 เพื่อใช้แทนสาร MTBE มีผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันเบนซินสูงขึ้น เนื่องจากองค์ประกอบทั้ง 2 ชนิดมีราคาสูงกว่าสาร MTBE ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงหน่วยผลิตจากสาร MTBE เป็น iso-octane จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบต่างๆ อาจเกิดขึ้นในภายหลัง เช่น ต้นทุนการผลิต เป็นต้น

สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของสาร MTBE สามารถแก้ไขได้ด้วยการซ่อมแซม และเปลี่ยนถังน้ำมันใต้ดินที่มีการรั่วซึม ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และได้มีการศึกษาผลกระทบของสาร MTBE ที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาและการส่งเสริมการนำเอทานอลซึ่งเป็นผลิตผลทางเกษตรมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เพื่อทดแทนการใช้สาร MTBE และนอกจากจะลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยตรงแล้ว ยังเป็นการลดการนำเข้าสาร MTBE เป็นมูลค่ากว่าปีละ 3,000 ล้านบาท ที่สำคัญไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์อีกด้วย


Skip to content