pcd.go.th
ขนาดอักษร |
Q1: มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศของประเทศไทย

A1: มาตรฐานสารมลพิษทางอากาศ 7 ประเภท ประกอบด้วย ฝุ่นรวม ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์
ก๊าซโอโซนและสารตะกั่ว ตัวอย่างเช่น

  • ฝุ่นรวมเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 0.33 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร
  • ฝุ่นรวมเฉลี่ย 1 ปี ไม่เกิน 0.10 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนแผนงานและประมวลผล กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ 2 ซอยพหลโยธิน 7 ถ. พหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 02298 2383-5 โทรสาร 0 2298 2357 E-mail : aqnis@pcd.go.th

Q2:ตารางข้อมูลคุณภาพอากาศรายเดือนแยกตามรายสถานี

A2: สรุปข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศรายเดือนแยกตามสถานีจำนวน 48 สถานีทั่วประเทศในรูปแบบตาราง โดยนำเสนอสารมลพิษทางอากาศ 5 ประเภท ได้แก่ ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซโอโซน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนแผนงานและประมวลผล กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ 2 ซอยพหลโยธิน 7 ถ. พหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 02298 2383-5 โทรสาร 0 2298 2357 E-mail : aqnis@pcd.go.th

Q3:สถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง

A3: เป็นหนังสือรายงานสถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงที่ได้จัดทำขึ้นทุกปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนแผนงานและประมวลผล กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ 2 ซอยพหลโยธิน 7 ถ. พหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 02298 2383-5 โทรสาร 0 2298 2357 E-mail : aqnis@pcd.go.th

Q4:วิธีการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศตามมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ตามประกาศ

A4: วิธีการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ประกอบด้วยวิธีการตรวจวัดที่เป็นวิธีมาตรฐาน (Reference Method) และวิธีเทียบเท่า (Equivalent Method) โดยแบ่งตามสารมลพิษ ดังนี้

1. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) Reference Method คือ Non-Dispersive Infared Detection

2. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)Reference Method คือ Chemiluminesence

3. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)Reference Method คือ Palarosaniline และ UV-FluorescenceEquivalent Method คือ Palarosaniline และ UV-Fluorescence4. ก๊าซโอโซน (O2)Reference Method คือ Chemiluminesence

5. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP)Reference Method คือ ระบบกราวิเมตริก ไฮโวลุม (Gravimetric HighVolume)

6. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM-10)Reference Method คือ ระบบกราวิเมตริก ไฮโวลุม (Gravimetric HighVolume)Equivalent Method คือ ระบบเบต้า เร (Beta Ray) ระบบเทบเปอ อิลิเม้น ออสซิเลติ้ง ไมโครบาลานซ์ (Tapered Element Oscillating Microbalance) ระบบไดโคโตมัส (Dichotomus)

7. ตะกั่วReference Method คือ Atomic Absorption Spectrometer

Q5:วิธีการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศมีวิธีไหนบ้าง

A5: การตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ มีหลายระบบแตกต่างกัน เช่น ระบบกราวิเมตริก (Gravimetric) ระบบเบต้า เร (Beta Ray) ระบบเทบเปอ อิลิเม้น ออสซิเลติ้ง ไมโครบาลานซ์ (Tapered Element Oscillation Microbalance) และระบบไดโคโตมัส (Dichotomus)

สำหรับระบบกราวิเมตริก (Gravimetric) กรมควบคุมมลพิษมีคู่มือการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเสียง

Q6:วงจรถ่วงน้ำหนักความถี่แบบ A (Frequency Weighting-A)A6: เป็นวิธีการถ่วงน้ำหนักความถี่ของสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องมือตรวจวัดเสียง เนื่องจากธรรมชาติการได้ยินของเราจะไม่ไวต่อความถี่ต่ำมาก ๆ ความถี่สูงมาก ๆ ดังนั้น เพื่อที่จะให้การวัดเสียงโดยเครื่องมือวัดสามารถวัดได้สอดคล้อง และเป็นตัวแทนของการได้ยินของมนุษย์จึงต้องพิจารณาตัวถ่วงน้ำหนัก (weighting filters) ร่วมในการวัดเสียง การถ่วงน้ำหนักความถี่ (Frequency weighting) ที่ใช้เป็นตัวแทนที่ใกล้เคียงกับ การตอบสนองของหูมนุษย์ที่สุด ก็คือการถ่วงน้ำหนักแบบ A “A-weighting” โดยผลการวัดออกมาใหม่หน่วยของ dB (A)
Q7:ความหมายของ Leq

A7: ระดับเสียงทียบเท่าต่อเนื่อง (Equivalent continuous sound level; Leq) เป็นระดับเสียงที่คงที่ในระหว่างช่วงเวลาในการวัดและเป็นตัวแทนค่าเฉลี่ยของพลังงานทั้งหมดในการวัด, Leq สามารถวัดได้โดยตรงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียงแบบที่เรียกว่า Integrating sound level meter หรือเป็นไปตามมาตรฐาน IEC 60804 หรือ IEC61672.

มาตรฐานของเสียง ที่ออกประกาศโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Q8:มาตรฐานระดับเสียงของรถยนต์แต่ละประเภทขณะเดินเครื่องอยู่กับที่A8: ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดระดับเสียงของรถจักรยานยนต์ ฉบับลงวันที่ 7 กรกฏาคม 2546
กำหนดให้ระดับเสียงของรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในทาง ขณะเดินเครื่องอยู่กับที่ โดยไม่รวมเสียงแตรสัญญาณต้องไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ ที่ระยะห่างจากรถจักรยานยนต์ 0.5 เมตรสำหรับรถยนต์ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดระดับเสียงของรถยนต์ ฉบับลงวันที่ 7 กรกฏาคม 2546 กำหนดให้ระดับเสียงของ รถยนต์ที่ใช้ในทาง ขณะเดินเครื่องอยู่กับที่ โดยไม่รวมเสียงแตรสัญญาณต้องไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ ที่ระยะห่างจากรถจักรยายนต์ 0.5 เมตร รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานนี้ สามารถค้นหาเพิ่มเติมได้ที่เวบไซด์ http://www.pcd.go.th
Q9:มาตรฐานระดับเสียงทั่วไป

A9: ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กำหนดระดับเสียงโดยทั่วไป กำหนดให้ “ค่าระดับเสียง เฉลี่ย 24 ชั่วโมง” ต้องไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ และ “ค่าระดับเสียงสูงสุด” ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรนี้ สามารถค้นหาเพิ่มเติมได้ที่เวบไซด์ http://www.pcd.go.th

Q10:ความหมายของเสียงรบกวน และมาตรฐานเสียงรบกวน

A10: “เสียงรบกวน” หมายความว่า ระดับเสียงจากแหล่งกำเนิดขณะมีการรบกวนที่มีระดับเสียงสูงกว่าระดับเสียงพื้นฐานและมีระดับการรบกวนเกินกว่าค่าระดับเสียงรบกวน ซึ่ง “ระดับการรบกวน” หมายความว่า ระดับความแตกต่างของระดับเสียงขณะมีการรบกวนกับระดับเสียงพื้นฐาน โดยที่ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2543) เรื่องระดับเสียงรบกวน กำหนดค่าระดับเสียงรบกวนไว้ที่ 10 เดซิเบลเอ

Q11:ความหมายของ “ระดับเสียงพื้นฐาน” ตามมาตรฐานเสียงรบกวน

A11: “ระดับเสียงพื้นฐาน” หมายความว่า ระดับเสียงที่ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อมเดิมขณะยังไม่มีเสียงจากแหล่งกำเนิด (แหล่งกำเนิดเสียงยังไม่ดำเนินกิจกรร) ใช้ระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 (Percentile level 90, L90) ซึ่งหมายถึงระดับเสียงที่ร้อยละ 90 ของเวลาที่ตรวจวัดจะมีระดับเสียงเกินระดับนี้

Q12:มลพิษทางเสียงก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์อย่างไร

A12: อันตรายจากเสียงต่อสุขภาพ ดังนี้

1) ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว คือไม่ได้ยินเสียงหลังจากสัมผัสเสียงดังและการได้ยินจะกลับคืนสุ่สภาวะปกติหลังจากหยุดสัมผัสเสียงดัง

2) ทำให้เกิดการสูญเสียงการได้ยินแบบถาวร เกิดจาการสัมผัสเสียงที่มีระดับสูงมาก เช่น เสียงระเบิด

3) ก่อให้เกิดการรบกวน เช่น รบกวนการนอนหลับ การสนทนา การทำงาน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีโรคที่เกิดจากเสียง เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคเครียด โรคกระเพาะ เป็นต้น

Q13: การควบคุมมลพิษเสียง

A13: การควบคุมมลพิษทางเสียงโดยทั่วไป หมายความถึง การจัดการ การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการวางแผนป้องกัน ที่ทำให้ระดับเสียง
จากแหล่งกำเนิดที่จะส่งผลกระทบต่อผู้รับลดลงไปยังระดับที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ และมีค่าไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เนื่องจากแหล่งยอมรับได้ และมีค่าไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เนื่องจากแหล่งกำเนิดเสียงมีหลากหลายประเภทแตกต่างกันไป ดังนั้นวิธีการควบคุมระดับเสียงที่เกิดขึ้น จึงต้องแตกต่างกันไปในรายละเอียดด้วย โดยทั่วไปการควบคุมระดับเสียงควรจะพิจารณาดำเนินกาตามลำดับ ดังนี้

1) ควบคุมเสียงที่แหล่งกำเนิด ซึ่งหากดำเนินการแก้ไขได้ผล ก็ไม่ต้องพิจารณาถึงวิธีการอื่น ๆ โดยพิจารณาตั้งแต่การออกแบบ การเลือกใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร

2) ควบคุมที่ระยะทางระหว่าง แหล่งกำเนิดเสียงกับผู้รับ มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ การควบคุมเสียงที่ส่งไปยังผู้รับโดยตรง และการควบคุมเสียงจากการสะท้อน เช่น การใช้กำแพงกันเสียง การปิดคลุมแหล่งกำเนิดเสียง เพิ่มระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงและผู้รับ เป็นต้น

3) ควบคุมที่ผู้รับ โดยจัดหาอุปกรณ์ป้องกันเสียงส่วนบุคคล ได้แก่
– ปลั๊กลดเสียง (ear plugs) ทำด้วยพลาสติก หรือยาง หรือวัตถุอื่นใช้ในช่องหูทั้งสองข้างต้องสามารถลดระดับเสียงลดได้ไม่น้อยกว่า 15 เดซิเบลเอ
– ครอบหูลดเสียง (ear muffs) ต้องทำด้วยพลาสติก หรือยาง หรือ วัตถุอื่น ใช้ใส่ช่องหูทั้งสองข้างต้องสามารถลดระดับเสียงลงได้ไม่น้อยกว่า 25 เดซิเบลเอ

Q14:ได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงจากยานยนต์ในกรุงเทพฯ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไว้หรือไม่

A14: ในส่วนของมลพิษทางเสียงกรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานต่างๆ ได้จัดทำมาตรการแก้ไขปัญหามลพิษทางสียงจากรถจักรยานยนต์ ปี 2546-2550 พื้นที่เป้าหมายกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาตรการดังกล่าว คณะกรรมการควบคุมมลพิษ รับทราบเมื่อปี 2546 สำหรับมาตรการ/กิจกรรมหลักประกอบด้วย

1. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์

2. การบริหารจัดการ

2.1 การจัดการเรื่องร้องเรียนจักรยานยนต์เสียงดัง
2.2 การให้บริการตรวจวัดระดับเสียง บริเวณริมถนนและที่หน่วยงาน
2.3 การให้บริการปรับแต่งรถ/เครื่องยนต์ท่อไอเสียและตรวจวัดระดับเสียงรถจักรยานยนต์ โดยผู้ประกอบการซ่อม จำหน่ายรถจักรยานยนต์ ซึ่งจะให้บริการตรวจสภาพทั่วไปและตรวจวัดระดับเสียงโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และคิดค่าบริการพิเศษส่วนการปรับแต่งเครื่องยนต์ เปลี่ยนท่อไอเสีย
2.4 การให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน เช่น การฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ทราบถึงการตรวจวัดเสียงยานพาหนะเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตรวจสอบตรวจจับได้อย่างถูกต้อง การให้ความรู้แก่เจ้าของรถและผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เกี่ยวกับปัญหามลพิษทางเสียงจากยานพาหนะและการแก้ไขที่ถูกต้อง
2.5 การศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมลพิษ เช่น การพัฒนาจักรยานยนต์มลพิษต่ำ

3.1 การปรับปรุงมาตรฐานระดับเสียงของรถจักรยานยนต์

3.2 การกำหนดภาษีและการจดทะเบียนสำหรับการผลิตและใช้รถจักรยานยนต์มลพิษต่ำ

3.3 การตรวจจับรถจักรยานยนต์เสียงดัง

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน กรมควบคุมมลพิษและหลายหน่วยงานได้ร่วมดำเนินการตามมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียงจากรถจักรยานยนต์ เช่น การรณรงค์ให้ประชาชนตรวจสอบรถก่อนใช้งาน ตั้งด่านตรวจจับยานพาหนะเสียงดัง ประชาชนสามารถใช้บริการปรับแต่งรถ เปลี่ยนท่อไอเสียเพื่อลดเสียงในราคาพิเศษ และสามารถแจ้งร้องเรียนยานพาหนะเสียงดังที่ Call Center ของกรมควบคุมมลพิษ โทร1650 ซึ่งสามารถโอนสายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้

นอกจากนี้ ได้ปรับมาตรฐานระดับเสียงรถจักรยานยนต์ให้มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น และศึกษาข้อมูลเพื่อกำหนดมาตรฐานยานพาหนะขณะวิ่ง เป็นต้นนอกจากนี้ หน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมจัดทำร่างมาตรการจัดการปัญหามลพิษทางเสียงจากการจราจรในกรุงเทพมหานคร โดยมีมาตรการ / กิจกรรม ประกอบด้วย

1.การจำกัดจำนวนยานพาหนะ

1.1 การเก็บค่าธรรมเนียมเข้าพื้นที่การจราจรแออัด

1.2 การจัดระบบบริการแท็กซี่

1.3 การกำหนดอายุการใช้งานรถรับจ้างทุกประเภท

1.4 การควบคุมอัตราเพิ่มของรถยนต์ส่วนบุคคล

1.5 การส่งเสริมให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

1.6 การห้ามรถบรรทุกวิ่งในเขตพื้นที่ชั้นใน

2.การบริหารจัดการ

2.1 การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน

2.2 การจำกัดความเร็วสูงสุดของรถ

2.3 การปรับปรุงสภาพผิวถนน

2.4 การจัดการเรื่องร้องเรียนยานพาหนะเสียงดัง

2.5 การบริการปรับแต่งท่อไอเสียงและตรวจวัดระดับเสียงยานพาหนะ

2.6 การส่งเสริมและศึกษาวิจัยเทคโนโลยีลดมลพิษจากยาพาหนะ

2.7 การสนับสนุนมาตรการด้านผังเมือง

3.มาตรการด้านกฎหมาย

3.1 การกำหนดมาตรฐานระดับเสียงยานพาหนะ

3.2 การตรวจสภาพรถก่อนต่อทะเบียน

3.3 การตรวจจับยานพาหนะเสียงดัง

3.4 การตรวจจับร้านจำหน่ายท่อไอเสียไม่ได้มาตรฐาน

4.การรณรงค์ประชาสัมพันธ์

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนร่างมาตรการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อให้มีความเป็นไปได้ในการแปลงมาตรการสู่การปฏิบัติ


Skip to content