pcd.go.th
ขนาดอักษร |
การแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมควบคุมมลพิษ

⇒ ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมควบคุมมลพิษ ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2565 (ประกาศครั้งแรก)

 

⇒ ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมควบคุมมลพิษ ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 (ประกาศทดแทนครั้งที่ 1) 

!!ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมควบคุมมลพิษ (ประกาศทดแทนครั้งที่ 2) โดยสำนักงาน ก.พ. ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ ผ่านระบบแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมในรูปแบบออนไลน์
⇒คลิ๊ก ตรวจสอบสถานะการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมควบคุมมลพิษ ผ่านระบบแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมในรูปแบบออนไลน์ของสำนักงาน ก.พ.

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมควบคุมมลพิษ
ตามข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ข้อ 7 มีดังนี้
1. ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการส่งเสริมจริยธรรมของส่วนราชการ
2. ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมจริยธรรม รวมถึงการพัฒนาจริยธรรมและการนำพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการ
3. ส่งเสริม และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนและข้อกำหนดจริยธรรม
4. สอดส่อง ดูแลให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน พิจารณาให้ความเห็นเมื่อมีกรณีร้องเรียนกล่าวหาหรือมีข้อสงสัยว่าข้าราชการในส่วนราชการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือฝ่าฝืนจริยธรรม
5. เสนอมาตรการส่งเสริมหรือจูงใจเพื่อพัฒนาให้ข้าราชการในส่วนราชการมีพฤติกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี และมาตรการดำเนินการกับข้าราชการในส่วนราชการที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนจริยธรรม
6. เสริมสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างข้าราชการในส่วนราชการ คณะกรรมการจริยธรรมและประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการ องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
7. รณรงค์ ส่งเสริมความเข้าใจต่อสาธารณะเกี่ยวกับประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนและข้อกำหนดจริยธรรมของส่วนราชการ ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมทางจริยธรรมของข้าราชการในส่วนราชการ
8. ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการเมื่อมีกรณีร้องเรียนกล่าวหาหรือมีข้อสงสัยว่าข้าราชการในส่วนราชการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือฝ่าฝืนจริยธรรมในกรณีหัวหน้าส่วนราชการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือฝ่าฝืนจริยธรรม ให้เสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปพิจารณา
9. ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนและข้อกาหนดจริยธรรมของส่วนราชการ
10. คุ้มครองและประกันความเป็นอิสระและเที่ยงธรรมของกลุ่มงานจริยธรรมของส่วนราชการ
11. คุ้มครองข้าราชการซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนอย่างตรงไปตรงมา มิให้ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้นั้น
12. ส่งเรื่องให้ ก.พ. พิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่เห็นว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องสำคัญหรือมีผลกระทบในวงกว้างหลายส่วนราชการ
13. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.พ. หรือ ก.ม.จ. มอบหมาย

 


วันที่ : 17 สิงหาคม 2565
เข้าชม : ครั้ง
ข้อมูลโดย : ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล , สำนักงานเลขานุการกรม


Skip to content